article
การใช้ถั่งเฉ้าบำบัดโรคสำหรับผู้ป่วยโรคไต

 

การใช้ถั่งเฉ้าบำบัดโรคสำหรับผู้ป่วยโรคไต

             โรคไตเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีความร้ายแรงพอสมควร ซึ่งสามารถพบได้มากขึ้นในผู้คนยุคปัจจุบันที่มีโภชนาการที่แตกต่างไปจากสมัยก่อน จึงทำให้บริโภคสารที่มีชื่อว่า “โซเดียม” หรือเกลือ และอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินจำเป็น รวมทั้งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่มักจะอั้นปัสสาวะเป็นประจำ ทำให้ไตต้องทำงานหนักแล้วป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับไตกันมากขึ้น

 

 

                ในปัจจุบันการรักษาโรคไตได้รับการพัฒนามากขึ้นและการรักษาที่หลากหลายวิธี รวมถึงการใช้สมุนไพรจากธรรมชาตินำมาบรรเทาอย่างเช่น “ถั่งเฉ้า” ซึ่งเป็นสมุนไพรจีนที่มีสารสำคัญและสรรพคุณอย่างมากมาย สามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคร้ายได้หลายชนิด รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับไตอีกด้วย โดยมีผลการศึกษาและการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศให้การรับรองจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต

                เมื่อผู้คนมีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ไตจะมีขนาดเล็กลงประมาณปีละ 1% มักจะเรียกกันว่ามีอาการไตเสื่อมหรือไตฝ่อนั่นเอง และอาการจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามา เช่น การรับประทานอาหารรสเค็มจัด ทำงานหนัก นอนดึก สูบบุหรี่ และมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

ข้อสนับสนุนของแพทย์และนักวิชาการเกี่ยวกับถั่งเฉ้าที่มีต่อโรคไต

                นายแพทย์บุญเกียรติ เบญจเลิศ ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีนจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนแห่งนครเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า มีตำราเกี่ยวกับยาจีนจำนวนไม่น้อยเมื่อหนึ่งพันกว่าปีก่อน ซึ่งกล่าวถึงคุณประโยชน์ของถั่งเฉ้าว่า มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงและรักษาปอดกับไต ช่วยรักษาอาการไอเรื้อรัง หยุดอาการเลือดออกทางเสมหะ และบำรุงสตรีให้เลือดลมไหลเวียนดีหรือมีบุตรง่าย

 

                ในปีค.ศ.2009 Li และคณะได้ทำการทดสอบกับผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายไต ระหว่างกลุ่มที่รับประทานเฉพาะยาแผนปัจจุบันและกลุ่มที่รับประทานถั่งเฉ้าควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน พบว่ากรดยูริคและโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยกลุ่มหลังมีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อหลังจากปลูกถ่ายไตแล้ว 2 – 6 เดือน ปริมาณความเข้มข้นของ cyclosporine (CsA) ในเลือดของผู้ป่วยโรคไตที่รับประทานถั่งเฉ้าต่ำกว่าอีกด้วย ซึ่งอาจจะเป็นดัชนีที่ชี้วัดว่า ถั่งเฉ้ามีส่วนช่วยในการปลูกถ่ายไตได้ดีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด

 

                นอกจากนี้ยังมีแพทย์ที่เคยนำถั่งเฉ้ามารักษาคนไข้ที่มีลักษณะธาตุหยางพร่องในไต ซึ่งทำให้มีอาการกลัวหนาว ปวดหลัง และปัสสาวะบ่อย รวมถึงผู้ป่วยที่มีตับและไตไม่แข็งแรง โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งหมด 20 คน พบว่ามีจำนวนถึงร้อยละ 90 ที่มีร่างกายแข็งแรงมากขึ้นและฟื้นฟูพลังมากถึง 64%

 

                ดังนั้นการรับประทานถั่งเฉ้าควบคู่กับการบำบัดโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยเสียก่อน และหลังจากที่รับประทานแล้วก็ควรดื่มน้ำตามมากๆ

Share this Article

สินค้าแนะนำ